วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน

ฮอร์โมนแห่งความผูกพันธ์ ความผูกพันเป็นแค่เพียงความรู้สึกใช่ไหม และมีปฏิกิริยาทางเคมีอะไรที่ทำให้เราผูกพันธ์กับคนที่เรารัก ฮอร์โมน Oxytocin ฮอร์โมนของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมทำหน้าที่เป็นนิวโรทรานสมิตเตอร์ (neurotransmitter)ในสมอง
เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการศึกษาโดยเริ่มทดลองพบว่า ฮอร์โมนตัวนี้ส่งผลต่อรูปแบบพฤติกรรมอันหลากหลายรวมทั้งอารมณ์ทางเพศ การยอมรับในสังคม การจับคู่ ความโกรธ ความเชื่อใจ ความรักและพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการเป็นแม่ เจ้าฮอร์โมนตัวนี้เป็นฮอร์โมนแห่งพลัง พบในทั้งเพศหญิงและชายจะถูกปลดปล่อยออกมาในเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ มันช่วยทำให้คู่รักมีความรู้สึกที่สนิมสนมใกล้ชิดกันมากขึ้น หลังจากมีเพศสัมพันธ์แล้ว ทางทฤษฏีกล่าวว่าคู่รักคู่ไหนยิ่งมีเพศสัมพันธ์มากเท่าใดความรู้สึกผูกพันธ์ ลึกซึ้งยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
นอกจานี้สารเคมีตัวนี้ยังเป็นตัวที่ทำให้แม่กับลูกมีความผูกพันกัน อย่างมาก ซึ่งจะปลดปล่อยออกมาในช่วงการคลอดบุตร มีอยู่ในน้ำนมของแม่จะออกมาโดยทันทีเมื่อได้เห็นหน้าลูกหรือได้ยินเสียงของ ลูก อีกหนึ่งฮอร์โมนที่สำคัญมีชื่อว่า วาโซเพรสซิน (Vasopressin) จะถูกหลั่งออกมาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ทำงานร่วมกับไตของเราเพื่อที่จะควบคุมระดับความสมดุลของน้ำในร่างกาย
นักวิทยาศาสตร์พบว่าสารเคมีตัวนี้มีบทบาทในความสัมพันธ์ของคู่รักที่อยู่ ด้วยกันมายาวนาน โดยดูจากผลทดลองในหนู ที่อยู่ในทุ่งหญ้าแพรรี่ เมื่อหนูนาเพศผู้ได้รับยาที่ลดฮอร์โมนวาโวเพรสซิน ทำให้ความรู้สึกผูกพันธ์ที่มีต่อคู่ของมันลดลงทันทีทันใด เนื่องจากพวกมันได้สูญเสียความต้องการที่จะเสียสละเพื่อคู่ของมัน และไม่หึงหวงคู่ของมันจากหนูนาเพศผู้ตัวอื่น
ฮอร์โมน Oxytocin เป็นฮอร์โมนที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกและระหว่างคู่ครอง ดังนั้นมันจึงได้ชื่อว่าเป็น "ฮอร์โมนแห่งความรัก" แต่ความรักก็มีด้านมืด เพราะนักวิทยาศาสตร์ค้นพบแล้วว่า Oxytocin ยังไปมีผลกระตุ้นให้คนเกิดความคลั่งชาติ คลั่งเผ่าพันธุ์ ได้ด้วย จนในที่สุดอาจจะลุกลามไปจนถึงการเหยียดเผ่าพันธุ์หรือชนชาติอื่น, อคติ, และความรุนแรง
นักจิตวิทยา Carsten de Dreu แห่งมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม ได้ทำการทดลองทั้งหมด 5 ชุดกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นชายชาวดัตช์ (ชาวเนเธอร์แลนด์) จำนวน 280 คน แล้วได้สรุปผลการทดลองว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับ Oxytocin จะมีความรู้สึกรักและผูกพันกับคนที่มีชนชาติดัตช์เหมือนกันมากกว่าชาวต่าง ชาติ
ตัวอย่างเช่น เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างจับคู่ความสัมพันธ์ระหว่างคำที่มีความหมายในแง่บวก หรือในแง่ลบกับชื่อของคนเชื้อชาติต่างๆ (เช่น ชื่อดัตช์ ชื่ออาหรับ ชื่อเยอรมัน เป็นต้น) กลุ่มตัวอย่างที่ได้ดมสเปรย์ที่มี Oxytocin สามารถจับคู่คำที่มีความหมายในแง่บวกกับชื่อชาวดัตช์ได้เร็วกว่ากลุ่ม ตัวอย่างที่ดมยาปลอม (placebo) อย่างมีนัยสำคัญ
หรือในการทดลองที่สมมติให้กลุ่มตัวอย่างเลือกว่าจะช่วยชีวิตคน 5 คนโดยต้องยอมเสียสละคนใดคนหนึ่งในห้าคนนั้น คนในตัวอย่างสมมติมีทั้งชื่อที่เป็นชาวดัตช์และชื่อของชาวต่างชาติรวมๆ คละๆ กันอยู่ กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับ Oxytocin ก็มีแนวโน้มที่จะเลือกเสียสละชีวิตชาวต่างชาติเพื่อปกป้องชีวิตของคนที่มี ชื่อดัตช์เหมือนกันมากกว่า
นักวิทยาศาสตร์หลายท่านเชื่อว่าผลการทดลองนี้สมเหตุสมผลพอสมควร เพราะแม้ว่า Oxytocin จะเป็นฮอร์โมนที่ทำให้สัตว์สังคมเชื่อใจกันและผูกพันกัน แต่มันก็มีผลกระตุ้นให้สัตว์มีพฤติกรรมก้าวร้าวในการปกป้องอาณาเขตหรือปก ป้องลูกอ่อนด้วย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาอันหนึ่งที่คาใจนักวิจัยก็คือ "ทำไมบางคนและบางครั้ง Oxytocin ก็ไม่กระตุ้นให้เกิดอคติรักเผ่าพันธุ์พวกพ้องได้" มันอาจจะมีสภาวการณ์เฉพาะอะไรสักอย่างในการกระตุ้นให้เกิดด้านมืดของ Oxytocin ในจิตใจมนุษย์ก็เป็นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น