วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีของเรื่องตลก Theory of Comedy(2)

Lenny Bruce เป็นคนที่เชื่อมั่นในเรื่องพื้นฐานของสติปัญญาเกี่ยวกับเรื่องตลก มีอยู่คราวหนึ่งที่เขาต้องลุกขึ้น พูดกับแขกที่มาในงาน เขาเริ่มต้นด้วยการจำแนกเชื้อชาติแขกทั้งหมด และชนกลุ่มน้อยทั้งหลาย ในหมู่ผู้ฟังของเขาด้วยลักษณะของการสบประมาท: “ผมเห็นว่าเรามีพวกนิเกอร์อยู่สามคนอยู่ตรงนั้น. และตรงโน้น ผมเห็นชาวตะวันออกกลางสองคน, และนั่นก็สแปนนิชอเมริกันห้าคน, ตรงนู๊นก็คนยิว” และนั่นก็คนจีน ฯลฯ… ขณะที่เขาเริ่มต้นด้วยลักษณะท่าทีเช่นนี้ มันได้ทำให้เกิดอาการหายใจหายคอไม่ค่อยออกหรืออึดอัดขึ้นมาในหมู่ผู้ฟัง และผู้ฟังบางคนรู้สึกโกรธขึ้นมาตะหงิดๆ: บรรดาผู้ชมไม่เชื่อว่า Bruce จะเป็นคนที่ชอบดูถูกและสบประมาทผู้คนเช่นนี้ และช่าวเป็นคนที่ไม่มีอารมณ์อ่อนไหวเอาเสียเลย แต่ขณะที่ Bruce พูดต่อไปและรายชื่อต่างๆ ได้ถูกเอ่ยพูดออกมาเรื่อยๆ จนนานมากพอทีเดียว, มันก็เป็นที่กระจ่างชัดว่า เขากำลังรายงานสภาพทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเห็นและคิดถึงนั่นเอง, คำพูดต่างๆของเขาได้ เริ่มสูญเสียความหมายของมันลงไป, นั่นคือความหมายทางอารมณ์ที่เป็นการดูถูกหรือสบประมาท และได้เปลี่ยนไปเป็นเสียงที่ดังออกมาอย่างไร้ความหมายที่จริงจังใดๆเท่านั้น
กล่าวอีกนัยหนึ่ง พวกมันได้สูญเสียเนื้อหาสาระทางอารมณ์และกลับกลายเป็นเรื่องภายนอกบริบทหรือ สภาพแวดล้อมไป. ณ จุดนี้ บรรดาผู้ชมทั้งหลาย ที่ครั้งแรกรู้สึกหายใจหายคอไม่ทั่วท้องและรู้สึกโกรธขึ้นมากับคำพูดเหล่า นั้น เริ่มที่จะหัวเราะออกมาได้: เพราะผู้ชมตอนนี้ กำลังโต้ตอบกับเรื่องของสติปัญญา, มากกว่าที่จะเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก.
ธาตุแท้ของเรื่องตลกในข้อที่สอง ที่บอกว่าเป็นเรื่องกลไกอัตโนมัติ และข้อที่สามที่กล่าวถึงความเป็นมนุษย์โดยกำเนิด ได้รับการแยกแยะโดย Henri Bergson ในความเรียงของเขาเรื่อง”Laughter”. ทฤษฎีของเขาได้พัฒนาขึ้นมาบนความจริงในตัวมันเองอันหนึ่ง ที่ว่า แก่นแท้ที่ทำให้คนเราหัวเราะออกมาได้นั้น สร้างขึ้นมาโดยกลไกอัตโนมัติที่ไม่รู้จักยืดหยุ่น ในเรื่องที่เราคาดหวังว่าจะปรับตัวได้และยืดหยุ่นได้.
มันเป็นเรื่องที่ตลกเมื่อใครคนหนึ่งกระทำการในลักษณะหรือท่าทีที่ไม่ เหมาะสมต่อสถานการณ์หรือสิ่งเร้าหนึ่งๆ เช่นดั่งในละครตลกที่ไม่ค่อยเป็นสัปะรดทั้งหลาย อย่างพวกตลกที่ใช้ไม้มาตีกันแรงๆให้คนดูตลกเป็นต้น. มันเป็นเรื่องสนุกเมื่อเก้าอี้ถูกดึงออกมาจากก้นของคนที่กำลังจะนั่งลงมาพอ ดี ทั้งนี้เพราะ เขาไม่สามารถที่จะปรับตัวในสถานการณ์นั้นได้นั่นเอง และยังคงนั่งลงไปด้วยกลไกอัตโนมัติ ผลก็คือ ก้นจ้ำเบ้าลงไปบนพื้นนั่นเอง.
หรืออย่างเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่ง, ในเรื่อง Much Ado About Nothing ของ Shakespeare, มันเป็นเรื่องที่สนุกสนานก็เพราะว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจคนดังกล่าวยังคงไม่เข้าท่าเข้าทางและไม่รู้ตัว ด้วยการคิดว่า เขาในฐานะตำรวจยังคงต้องมีหน้าที่ในการดูแลรับผิดชอบต่อสถานการณ์หนึ่ง สถานการณ์ใดอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่จริงๆแล้ว เขาไม่มีไอเดียหรือความรู้อะไรเลยว่า ได้เกิดอะไรขึ้นมาในสถานการณ์นั้นๆ และจะต้องแก้ปัญหากับมันอย่างไร.
Lucy ในเรื่อง I Love Lucy เป็นเรื่องที่สนุกเพราะว่า เธอมีปฏิกริยาอัตโนมัติต่อเหตุการณ์ทั้งหลายโดยไม่ได้คิดเลยว่า เหตุการณ์นั้นๆมันได้เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ไปแล้ว.
ขยายความเกี่ยวกับทฤษฎีของ Bergson ก็คือ ไอเดียของเขานั้นที่ว่า เรื่องตลกเป็นเรื่องของมนุษย์มาแต่กำเนิด มันมีบางสิ่งซึ่งเป็นที่สนุกสนานเพียงเพราะมันได้เตือนผู้ดูทั้งหลายเกี่ยว กับความเป็นมนุษย์นั่นเอง. ผู้ชมอาจหัวเราะออกมาเพราะ การกระทำอันแปลกวิตถารของสัตว์ตัวใดตัวหนึ่ง, อย่างเช่น ลิงชิมแปนซี หรือม้า หรือหมี, เพียงเพราะพฤติกรรมของสัตว์พวกนั้น มันได้มาเตือนความทรงจำของเราเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์บางอย่างนั่นเอง. ดังนั้น, สัตว์ต่างๆอย่างเช่น ชิมแปนซีและอุรังอุตัง บ่อยครั้ง มันแต่งตัวในเสื้อผ้าอย่างมนุษย์เพื่อเพิ่มเติมความทรงจำของเรา และม้า อย่างเช่น Mr.En และล่อที่ชื่อ Francis ซึ่งพูดได้, สามารถที่จะคิดได้เหนือกว่ามนุษย์ที่อยู่รายรอบ เป็นต้น.
จุดที่สำคัญอันหนึ่งที่เด่นชัดเมื่อเราตรวจสอบเรื่องตลกต่างๆก็คือ มันตั้งอยู่บน พื้นฐานของการไม่ลงรอย หรือสอดคล้องกันนั่นเอง ความไม่คาดฝันใน สิ่งที่เราคาดหวัง, ความไม่ปกติในความเป็นปกติ ความผิดแผกไป หรือไม่สามารถปรับตัวได้ในสิ่งซึ่งได้รับการยอมรับแล้ว ในฐานะบรรทัดฐานทางสังคม
สำหรับการที่มันเป็นสิ่งที่ไม่ลงรอยกันนั้น จะต้องเป็นบางอย่างที่มันไม่เข้ากัน. ด้วยเหตุนี้ สำหรับเรื่องตลกที่มันเข้าท่าเข้าทาง หรือทำงานนั้น มันจะต้องเป็นเรื่องของบรรทัดฐานทางวัฒนธรรม ความเป็นมนุษย์และสังคม ขนบธรรมเนียม ศัพท์แสลง หรือสำนวน คำศัพท์ ในลักษณะสวนทาง ซึ่งการไม่ลงรอยกันจะถูกพบเสมอ. บรรทัดฐานต่างๆอันนั้นอาจเป็นเรื่องภายในหรือเรื่องภายนอกก็ได้. บรรทัดฐานภายในคือสิ่งต่างๆที่ผู้เขียนได้ตระเตรียมขึ้นมาในต้นฉบับ. ส่วนบรรทัดฐานภายนอกก็คือสิ่งที่มีอยู่ในสังคม ซึ่งต้นฉบับได้เขียนถึง.
ปัญหาสำคัญคือว่า บรรทัดฐานอะไรที่มีอยู่ และอะไรที่ล้าสมัยไปแล้วบ้าง หลายครั้งผู้คนที่ได้ยินเรื่องตลก ไม่สามารถรู้สึกตลกไปด้วยได้ ทังนี้เพราะพวกเขาไม่รู้หรือเข้าใจบรรทัดฐานทางสังคมนั่นเอง อันนี้จะเห็นได้ชัดเกี่ยวกับตลกฝรั่ง ซึ่งคนไทยมักจะฟังไม่รู้เรื่องหรือไม่ขำ ก็เพราะเราไม่ทราบว่า โจ๊กหรือเรื่องตลกนั้น มันได้ไปละเมิดต่อบรรทัดฐานทางสังคมของฝรั่งอย่างไรนั่นเอง
อันนี้เป็นเหตุผลที่ว่าทำไม เราจึงไม่สามารถอธิบายได้ถึงเรื่องตลกเรื่องหนึ่ง การที่เราสามารถจะอธิบายมันได้ แรกสุดเลยนั้น เราจะต้องชี้แจงถึงบรรทัดฐานทางสังคมนั้นได้ ต่อจากนั้นก็แสดงให้เห็นว่ามันได้ถูกฝ่าฝืนกฎอย่างไร. การอธิบายนั้นจะยักย้ายความไม่ลงรอยกันออกไปโดยแสดงให้เห็นภาพว่า มันทำงานภายในบรรทัดฐานต่างๆ
เกี่ยวกับบรรทัดฐานต่างๆ ยังอธิบายด้วยว่า ทำไมเรื่องขบขันบางเรื่องมันจึงพ้นความเข้าใจไปแล้ว. ละครตลกและเรื่องโจ๊กอาจจะล้าสมัยไปได้. ละครตลกต้นๆของ Neil Simon หลายๆครั้งขึ้นอยู่อย่างมาก กับทัศนคติทางสังคมของยุคสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง. อย่างไรก็ตาม บทบาทและท่าทีในเรื่องเซ็กซ์ได้แปรเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก นับตั้งแต่ปี 1961 เป็นต้นมา และในเรื่อง Come Blow Your Horn และเรื่องขบขันในตัวละคร Alan Baker ค่อนข้างจะเป็นไปในลักษณะมีอคติทางเพศต่อผู้หญิงและเรื่องเซ็กซ์. ปัจจุบันนี้เรื่องดังกล่าวมันกลายเป็นปลุกเร้าปฏิกริยาทางอารมณ์ของคนเราไป, ถือว่าเป็นเรื่องที่ไร้รสนิยม มากกว่าเรื่องที่จะทำให้คนหัวเราะออกมาได้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น